ประกันภัยสัญญางานก่อสร้าง และการติดตั้งเครื่องจักร
เป็นประกันภัยสำหรับสัญญางานก่อสร้างและอุปกรณ์มีหลากหลายชื่อที่เรียก เช่น ประกันผู้รับเหมา ประกันงานก่อสร้าง ซึ่งจะครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง ระหว่างที่ผู้รับเหมาเข้าปฏิบัติงานตามสัญญาว่าจ้างไม่ว่าจะเป็นงานมูลค่าขนาดใหญ่ งานวิศวกรรมโยธา งานสร้างสนามบิน หรือแม้กระทั่งการติดตั้งเครื่องจักร ก็สามารถซื้อประกันประเภทนี้เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงได้ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ประกันภัยงานก่อสร้าง และประกันภัยอุปกรณ์ก่อสร้าง
ประกันภัยงานก่อสร้าง (Construction Insurance)
- ประกันภัยงานก่อสร้างรวม (Contractors All Risks - CAR)
- ครอบคลุมความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง
- คุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก (บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการ) ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้น
- ประกันภัยติดตั้งเครื่องจักร (Erection All Risks - EAR)
- ใช้สำหรับโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์
- คุ้มครองความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างที่กำลังติดตั้ง และความเสียหายต่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
ประกันภัยอุปกรณ์ก่อสร้าง (Equipment Insurance)
- ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง (Contractors' Plant and Machinery - CPM)
- คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น รถขุด, รถเครน, และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ
- ครอบคลุมความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ การขโมย ความเสียหายจากไฟไหม้ หรือภัยธรรมชาติ
- ประกันภัยการขนส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Inland Transit Insurance)
- คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง
- ครอบคลุมความเสี่ยงจากการชน การพลิกคว่ำ การโจรกรรม หรือภัยธรรมชาติระหว่างการขนส่ง
ความสำคัญของประกันภัยงานก่อสร้างและอุปกรณ์
- ลดความเสี่ยงทางการเงิน: การประกันภัยช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายขึ้น
- เพิ่มความน่าเชื่อถือ: ผู้ว่าจ้างงานก่อสร้างมักต้องการให้ผู้รับเหมาก่อสร้างมีประกันภัย เพื่อเพิ่มความมั่นใจในโครงการ
- คุ้มครองบุคคลภายนอก: ประกันภัยบางประเภทคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ
ความคุ้มครองของการประกันภัยประเภทนี้
- คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดคิด หรือเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุต่างๆ
- คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
- อาจจะเป็นส่วนที่เพิ่มเติมที่จะขยายความคุ้มครองในทรัพย์สินเจ้าของเดิมที่ต้องเข้าไปปฏิบัติงานในอาคาร หรือสถานที่ซึ่งมีทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ซึงก็สามารถขยายความคุ้มครองในส่วนนี้ได้
ข้อยกเว้น "จะระบุไว้ในข้อยกเว้นว่าแต่ละหมวดไม่คุ้มครองความเสียหายอะไรบ้าง"
- การออกแบบผิด (Faulty Design)
- การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมที่เกิดจากการสึกหรอ
- ค่าใช้จ่ายในการทำใหม่หรือการทดแทนทรัพย์สิน การใช้วัสดุไม่มีคุณภาพ
- การสึกกร่อนและสึกหรอ,การผุพัง,ความเสื่อมสภาพ
- การหยุดชะงักหรือขัดข้องของเครื่องจักร
- ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
- ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเอกสาร, แบบก่อสร้าง, บัญชี, เงิน, แสตมป์, ธนบัตร, เช็ค เป็นต้น
- ความสูญเสียที่พบเฉพาะตอนตรวจรายการสิ่งของ (เช็คสต๊อก)
ข้อยกเว้นทั่วไป
- ค่าเสียหายส่วนแรกที่กำหนดไว้ในหน้าตาราง
- ความสูญเสียต่อเนื่องจากการทำงานล่าช้า
- การประมาทอย่างจงใจด้วยเจตนาร้าย
- การแผ่รังสี กัมมันตภาพรังสี
- อาวุธนิวเคลียร์
- ภัยสงคราม, การรุกราน, ปฏิวัติ, สงครามกลางเมือง
ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องการ
- ชื่อ, ที่อยู่ของผู้เอาประกันภัย
- สถานที่ตั้งทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
- รายละเอียดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น ผู้ผลิต, รุ่น, ยี่ห้อ, ปี, หมายเลขเครื่อง
- จำนวนเงินเอาประกันภัยในแต่ละเครื่อง (Replacement Value)
- สถานที่ตั้งทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
- ประวัติความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้น
อัตราเบี้ยประกันภัย
- ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากฝ่ายรับประกันภัย
หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมหรือสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยเฉพาะประเภทใดประเภทหนึ่ง กรุณาแจ้งให้เราทราบครับ